ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (อังกฤษ: fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์มีหลายชนิด อาจเป็นสิ่งที่มีความคงทนยากต่อการทำลาย เช่น ฟัน กระดูก หรือ เปลือก แต่ในบางสภาวะ อาจมีการเก็บรักษาซากสัตว์ทั้งตัวให้คงอยู่ได้ เช่น ช้างแมมมอท ที่ไซบีเรียการเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)
เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ (cast)
การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังอาจเป็นร่องรอย ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต รอยคืบคลาน รอยตีน ที่อยู่ในชั้นตะกอนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา หรืออาจเป็นช่อง รู โพรง (burrows) ในชั้นตะกอน ในเนื้อไม้ หรือในหินที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และมีแร่ไปตกผลึกในช่องเหล่านี้ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolites) เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีประโยชน์ในการบอกถึงนิสัยการกินของสัตว์นั้นๆ หรืออาจเป็นก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastroliths) เพื่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทของซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักเกณฑ์อะไรเป็นบรรทัดฐาน การพยายามจำแนกตามหลักอนุกรมวิธานตามแบบชีววิทยา อาจพบกับข้อจำกัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วซากดึกดำบรรพ์มักเป็นส่วนซากเหลือจากการผุพังสลายตัว ส่วนใหญ่เป็นส่วนที่แข็ง มีความทนทานต่อการผุพังสลายตัวสูงกว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น กระดูก ฟัน กระดอง เปลือก และสารเซลลูโลสของพืชบางส่วน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์ (นักบรรพชีวินวิทยา) ในปัจจุบัน ในที่นี้จะจำแนกซากดึกดำบรรพ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ซากดึกดำบรรพ์สัตว์
- ซากดึกดำบรรพ์พืช
- ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน
- ซากดึกดำบรรพ์ใบไม้
- ซากดึกดำบรรพ์ดอก
- ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา
- ซากดึกดำบรรพ์ผลไม้
- ซากดึกดำบรรพ์เมล็ด
- ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย
เมื่อศึกษาจำนวนซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้ พบว่ามีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก ซากสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกทำลายไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการเก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตจนกระทั่งกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีสภาวะที่พิเศษ ซึ่งได้แก่ การตกลงตัวและถูกเก็บรักษาไว้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันการถูกทำลายจากธรรมชาติ และ การที่ต้องมีส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกเก็บรักษาได้ง่ายกว่าส่วนที่นิ่ม
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหิน มีความสำคัญอย่างมาก มันแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ใช้เป็นตัวกำหนดอายุของหิน และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ สิ่งที่นักธรณีวิทยาสนใจเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการนำซากดึกดำบรรพ์ มาเป็นตัวกำหนดอายุของหิน คือ ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี (index fossils) ซึ่งเป็นซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งการที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีในชั้นหินต่างบริเวณกัน นักธรณีวิทยาสามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีเหล่านั้นมีอายุในช่วงเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นหินต่างๆ อาจพบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีได้ยาก ดังนั้นอาจจำเป็นต้องใช้กลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะมีความแม่นยำกว่าการใช้ซากดึกดำบรรพ์เพียงชนิดเดียว
นอกจากประโยชน์ที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังถูกนำมาใช้ในการบอกถึงสภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนด้วย ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมการสะสมตัวอาจได้จากการศึกษารายละเอียดจากชั้นหิน แต่ซากดึกดำบรรพ์อาจให้รายละเอียดที่มากกว่า
ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
พ.ศ. 2550 ได้สำรวจพบพบชิ้น ส่วนไดโนเสาร์ในพื้นที่ อ.ภูกระดึง จ.เลย ได้ขุดชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ส่วนขา สันหลังจำนวนกว่า 10 ชิ้นที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ คาดว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคไทรแอสสิก อายุประมาณ 210 ล้านปี โดยเจอที่ชั้นกลุ่มหินน้ำพองห่างจากภูกระดึงประมาณ 6 กม.
ในปี พ.ศ. 2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โพรซอโรพอด ที่ชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินน้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200 ล้านปี นับเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์โพรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก พบว่าโพรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร
- ในปี พ.ศ. 2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในชั้นหินของหมวดหินภูกระดึง อายุประมาณ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอด ไดโนเสาร์ซอโรพอด และไดโนเสาร์สเทโกซอร์ ซึ่งเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สเทโกซอร์ครั้งแรกในประเทศไทย
- ซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัส
- คอมพ์ซอกนาธัสเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุด แต่เดิมพบเฉพาะในบริเวณประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส สำหรับในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัสที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกค้นพบเป็นกระดูกชิ้นเล็กๆ สองชิ้น มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกนกหรือกระดูกไก่ หลังการตรวจสอบพบว่าเป็นกระดูกขาหลังท่อนล่างชิ้นหนึ่ง และเป็นกระดูกขาหน้าชิ้นบนอีกชิ้นหนึ่ง ของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกนาธัสที่พบในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
1. ใช้ในการบอกและเปรียบเทียบอายุของหินในทางธรณีวิทยา เพราะสัตว์และพืชในแต่ละยุคมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์หอย 2 ฝาสกุล Trigonioides ในหินกรวดมนปนปูน ที่ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการกำหนดอายุให้อยู่ในยุคครีเตเชียส (140 – 66 ล้านปีก่อน) และพบหอยดังกล่าวในชั้นหินที่ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมาด้วย แสดงว่าชั้นหินทั้ง 2 บริเวณ มีอายุอยู่ในยุคเดียวกัน ชั้นหินอื่น ๆ ที่วางตัวอยู่ตอนล่างควรจะมีอายุมากกว่า เป็นต้น
2. ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เพราะซากดึกดำบรรพ์เป็นเสมือนบันทึกของวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ต่าง ๆ เช่น ม้าในสกุล Equus ปัจจุบัน มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นบรรพบุรุษย้อนถอยไปในอดีตถึงประมาณ 50 ล้านปีก่อนหรือในสมัยอีโอซีน (58 – 37 ล้านปีก่อน) เรียกว่า Eohippus มีขนาดเล็ก นิ้วเท้าหน้า – หลังมี 4 นิ้วและ 3 นิ้ว ตามลำดับ แต่ในสมัยต่อ ๆ มา ได้วิวัฒนาการด้านขนาดที่ใหญ่เพิ่มขึ้น จำนวนนิ้วเท้าลดลง จนเหลือเพียงนิ้วเดียวในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับตัวให้วิ่งได้บนพื้นที่แข็ง วิ่งเร็วขึ้น และฟันซึ่งมีตัวฟันสั้นในสมัยแรก ได้วิวัฒนาการมาเป็นตัวฟันที่ยาวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะกับหญ้าที่สากและมักมีเม็ดทรายติดอยู่ตามกอหญ้า ซึ่งทำให้ฟันสึกเร็ว นั่นคือ จากพื้นที่เดิมสมัยแรก ๆ เป็นทุ่งหญ้า ที่ราบ พรรณไม้พุ่ม ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นที่ราบสูง ชั้นหินตื้นหรือโผล่และทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
3. ทำให้ทราบถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์บรรพกาลของพื้นที่ ครั้งเมื่อพืชหรือสัตว์เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ เช่น ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ปะการัง หรือ คตข้าวสาร (fusulinid) ในภูเขาหินปูนแถบอำเภอปากช่อง แสดงว่า บริเวณดังกล่าวเมื่อประมาณ 285 – 260 ล้านปีก่อน (คตข้าวสารเป็นสัตว์เซลล์เดียว เคยมีแพร่หลายในทะเลของช่วงเวลาดังกล่าว และได้สูญพันธุ์ไปหลังจากนั้น) เคยเป็นทะเลตื้นในเขตอบอุ่นค่อนข้างร้อนถึงเขตร้อนมาก่อน ครั้นต่อมาได้ยกตัวขึ้นเป็นภูเขาสูงในภายหลัง หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ใบเฟิร์นกรอสซอปเทอริส (Glossopteris) และสัตว์เลื้อยคลานลีสโตรซอรัส (Lystrosaurus) อายุยุคเพอร์เมียม (285 – 245 ล้านปีก่อน) และยุคไทรแอสซิกช่วงต้น (245 – 225 ล้านปีก่อน) ในทวีปแอนตาร์คติกาและทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลียและอนุทวีปอินเดีย แสดงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว แผ่นทวีปและอนุทวีปทั้ง 5 แผ่น เคยติดต่อกันเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันในซีกโลกใต้ (Prothero and Dott, 2004) และมีชื่อเรียกว่า มหาทวีปกอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) แต่ในยุคต่อ ๆ มา แผ่นดินต่าง ๆ ได้เคลื่อนตัวมาทางเหนือ ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย โดยเฉพาะอนุทวีปอินเดีย รวมทั้งแผ่นดินย่อย ๆ ในส่วนของอินโดจีนและเอเชียตะวันออกที่อยู่ใกล้กัน ได้เคลื่อนย้ายมาไกลสุด ข้ามเส้นศูนย์สูตรมาชน มุดและติดต่อกับทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปลอเรเชีย (Laurasia) ตั้งแต่สมัยอีโอซีนช่วงต้น (ประมาณ 50 ล้านปีก่อน) (กรมทรัพยากรธรณี, 2542) ปัจจุบัน
คณะผู้จัดทำ
1.นางสาว ชยาภรณ์ กรรณเทพ เลขที่ 6 ม.5/2
2.นางสาว ธัญญาเรศ แวดอุดม เลขที่ 9 ม.5/2
3.นางสาว ภัทรา ปรีดี เลขที่ 10 ม.5/2
4.นางสาว อรนิภา บุญชู เลขที่ 11 ม.5/2
นักเรียนโรงเรียนปัญญาวรคุณ
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
แหล่งอ้างอิง
1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
2.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B9%8C
3.http://learn.chanpradit.ac.th/fossils/advantage.htm
So good
ตอบลบทำได้แค่นี้ดีแล้ว ครั้งแรกๆ
ตอบลบ